วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

๒.๓ รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์

            ๑) การเชื่อมต่อแบบวงแหวน (ring topology) เป็นการเชื่อมต่อสายสัญญาณจากสถานีเชื่อมโยง (node) หนึ่งไปยังอีกสถานีเชื่อมโยงหนึ่ง โดยเครื่องหรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์แต่ละตัวจะเชื่อมต่อกันทางด้านข้างทั้ง ๑ ด้าน จนเกิดเป็นวงกลมหรือลูป (loop) การส่งสัญญาณจะมีการรับและส่งข้อมูลต่อกันไปในทิศทางเดียวกัน จนกระทั่งถึงสถานีปลายทาง จากนั้น สถานีปลายทางจะส่งสัญญาณตอบรับว่าได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว


ข้อเปรียบเทียบการเชื่อมต่อแบบวงแหวน
ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบวงแหวน
-                   ใช้สายสัญญาณและเนื้อท่สำหรับติดตั้งน้อย
-                   ติดตั้งได้ง่าย สามารถเพิ่มหรือตัดสถานีเชื่อมโยงออกได้ง่าย
-                   เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ในเครือข่ายมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างเท่าเทียมกัน
ข้อเสียของการเชื่อมต่อแบบวงแหวน
-                   หากวงแหวนเสียหาย จะส่งผลกระทบต่อทั้งเครือข่าย
-                   ตรวจสอบได้ยากว่าสถานีใดขัดข้อง ทำให้ต้องตรวจสอบทุกสถานีหรือทุกส่วนของเครือข่าย

 ๒. การเชื่อมต่อแบบบัส (bus topology) เป็นการใช้ช่องทางการสื่อสารร่วมกันโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมดในเครือข่าย จะเชื่อมต่อเข้ากับสายหลักเพียงเส้นเดียว เรียกว่าสาย แบ็กโบน (backbone)
* การเชื่อมต่อแบบบัส นิยมต่อด้วยสายโคแอกเชียล




ข้อเปรียบเทียบการเชื่อมต่อแบบบัส
ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบบัส
-                   โครงสร้างไม่ซับซ้อนติดตั้งง่าย
-                   สามารถขยายระบบเครือข่ายได้ง่าย
-                   ใช้สัญญาณน้อย เพราะมีสายหลักเพียงสายเดียว
ข้อเสียของการเชื่อมต่อแบบบัส
-                   หากสายสัญญาณขาดจะส่งข้อมูลไม่ได้เลย
-                   ตรวจสอบจุดที่เสียหายได้ยาก
-                   มีข้อกำหนดเกี่ยวกับระยะห่างแต่ละสถานี

๓. การเชื่อมต่อแบบดาว (star topology) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละตัวเข้ากับจุดศูนย์กลางของเครือข่าย โดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า ฮับ (hub) หรือ สวิตช์ (switch)
 * การเชื่อมต่อแบบดาว ได้รับความนิยมในการเชื่อมต่อชุดคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน



ข้อเปรียบเทียบการเชื่อมต่อแบบดาว
ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบดาว
-                   ติดตั้งและดูแลง่าย
-                   มีความคงทนสูง แม้ว่าสายสัญญาณขาดที่ใดที่หนึ่ง สายสัญญาณที่เหลือสามารถทำงานได้ปกติ
-                   หากระบบทำงานบกพร่อง สามารถตรวจสอบหาจุดขัดข้องได้ง่าย
ข้อเสียของการเชื่อมต่อแบบดาว
-                   ใช้สายสัญญาณมาก
-                   ขยายระบบเครือข่ายได้ยาก
-                   หากฮับเสียหาย จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมดไม่สามารถเชื่อมต่อถึงกันได้

๔. การเชื่อมต่อแบบผสม (hybrid topology) เป็นการผสมผสานรูปแบบการเชื่อมต่อแบบต่างๆเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อแบบวงแหวน การเชื่อมต่อแบบบัส หรือ การเชื่อมต่อแบบดาว โดยออกแบบให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นจริง
* การเชื่อมต่อแบบผสม เป็นการรวมรูปแบบการเชื่อมต่อแบบต่างๆ เข้าด้วยกัน เหมาะสำหรับใช้ในองค์กรขนาดใหญ่




ข้อเปรียบเทียบการเชื่อมต่อแบบผสม
ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบผสม
-                   สามารถเข้าถึงเครือข่ายที่อยู่ในระยะไกลได้
-                   ทำให้การสื่อสารข้อมูลมีประสิทธิภาพ
ข้อเสียของการเชื่อมต่อแบบผสม
-                   ดูแลระบบยาก และเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสูง
-                   โครงสร้างมีความซับซ้อนมีรูปแบบไม่แน่นอน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น