วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

๒.๒ วิธีการถ่ายโอนข้อมูล


วิธีการถ่ายโอนข้อมูลเป็นวิธีการส่งสัญญาณออกจากอุปกรณ์ส่งข้อมูลและการรับสัญญาณด้วยอุปกรณ์รับข้อมูล  วิธีการถ่ายโอนข้อมูล มี ๒ วิธี ดังนี้
                ๑) การถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน  เป็นการส่งข้อมูลออกทีละ ๑ ไบต์ หรือ ๘ บิต จากอุปกรณ์ส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์รับข้อมูล ดังนั้น สื่อกลางหรือสายสัญญาณระหว่างอุปกรณ์ส่งข้อมูลและอุปกรณ์รับข้อมูล จึงต้องมีช่องทาวให้ข้อมูลเดินทางอย่างน้อย ๘ ช่องทางขนานกัน เพื่อให้สัญญาณไฟฟ้าผ่านไปได้ และระยะทางของของสายสัญญาณแบบขนานไม่ควรยาวเกิน ๑๐๐ ฟุต เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาสัญญาณสูญหายไป เนื่องจากความต้านทานของสาย นอกจากนี้อาจมีปัญหาที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าในสายดินส่งคลื่นไปก่อกวนการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ทำให้ผู้รับได้รับสัญญาณที่ผิดพลาดได้


                ๒) การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม เป็นการส่งข้อมูลออกทีละ ๑ บิต ระหว่างอุปกรณ์ส่งข้อมูลและอุปกรณ์รับข้อมูล ดังนั้น สื่อกลางหรือสายสัญญาณระหว่างอุปกรณ์ส่งข้อมูลและอุปกรณ์รับข้อมูล จึงต้องมีช่องทางให้ข้อมูลเดินทางเพียง ๑ ช่องทาง หรือสายตีเกลียวคู่เพียงคู่เดียว ส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าแบบขนาน สำหรับการส่งระยะทางไกลๆ ความเร็วในการส่งแบบนี้จะช้ากว่าแบบขนาน
                หารถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม จะเริ่มด้วยข้อมูลจากอุปกรณ์ส่งข้อมูลจะถูกเปลี่ยนให้เป็นสัญญาณอนุกรมเสียก่อน แล้วค่อยทยอยส่งออกทีละบิตไปยังอุปกรณ์รับข้อมูลและที่อุปกรณ์รับข้อมูลจะมีกลไกในการเปลี่ยนข้อมูลที่ส่งมาทีละบิต ให้เป็นสัญญาณแบบขนาน เช่น บิตที่ ๑ ลงที่บัสข้อมูลเส้นที่ ๑ เป็นต้น ความเร็วของการถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม มีหน่วยวัดเป้นบิตต่อวินาที (bps) 


การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม อาจจะแบ่งตามทิศทางในการรับและส่งช้อมูลได้ ๓ แบบ ดังนี้
๒.๑) แบบสื่อสารทางเดียว (simplex) การติดต่อสื่อสารทางเดียวมีลักษณะการส่งข้อมูลไปยังผู้รับในทิศทางเดียว เช่น สถานีวิทยุกระจายเสียง การแพร่ภาพทางโทรทัศน์ บอร์ด ประกาศ ภาพ เป็นต้น


๒.๒) แบบสื่อสารสองทางครึ่งอัตรา (half duplex) การติดต่อสื่อสารแบบกึ่งคู่ มีลักษณะการส่งข้อมูลได้สองทิศทางแบบสลับ แต่ละสถานีสามารถทำหน้าที่ได้ทั้งรับและส่งข้อมูล แต่จะผลัดกันส่งและผลักกันรับ จะส่งและรับข้อมูลในเววลาเดียวกันไม่ไ เช่น วิทยุสื่อสารของตำรวจ วิทยุสื่อสารของระบบขนส่ง การรับส่งโทรสาร (Fax) เป็นต้น


๒.๓) สื่อสารทางเต็มอัตรา (full duplex) การติดต่อสื่อสารแบบทางคู่มีลักษณะการส่งข้อมูลได้สองทิศทางพร้อมกัน กล่าวคือ สามารถรับและส่งข้อมูลได้พร้อมกันในเวลาเดียวกัน ทำให้การทำงานรวดเร็วขึ้น ไม่ต้องเสียเวลารอ เช่น การสนทนาทางโทรศัพท์ การสนทนาอินเทอร์เน็ต เป็นต้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น